วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

หน้าที่ของผิวหนัง

     ผิวหนังมีหน้าที่ดังนี้
ผิวหนังแต่ละบริเวณของร่างกายจะมีความหนาบาง
ไม่เท่ากัน เช่น บริเวณใบหน้าจะมีความบอบบางมาก
จึงต้องหมั่นเอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษ
     1.ปกคลุมร่างกายและห่อหุ้มเนื้อเยื่อ เพื่อรองรับการแพร่เข้ามาของเชื้อโรคต่างๆ รวมถึงป้องกันรังสีอันตรายไม่ให้เข้ามาทำรายเนื้อเยื่อภายในร่างกาย โดยปกติแล้วเชื้อโรคจะไม่สามารถเข้าทางผิวหนังได้ ถ้าผิวหนังบริเวณนั้นไม่มีพาดแผลหรือรอยถลอก นอกจากนี้ ผิวหนังยังช่วยป้องกันไม่ให้เนื้อเยื่อแห้ง รวมทั้งช่วยไม่ให้อวัยวะภานใรถูกทำอันตรายได้ง่ายอีกด้วย
การได้รับแสดแดดอ่อนๆ ในยามเช้า หรือยามเย็น
จะทำให้ผิวหนังได้รับวิตามินดี ซึ่งมีความจะเป็นต่อน่างกาย
   












2.รักษาอุณหภูมิของร่างกาย โดยผิวหนังจะทำหน้าที่ระบายความร้อนส่วนเกินของร่างกายออกทางรูขุมขนที่อยู่ตามผิวหนัง เพื่อรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้เป็นปกติ 37องศาเซลเซียสกล่าวคือ เมื่อร่างกายต้งทำงานหนัก เป็นไข้ หรืออากาษภายนอกร่างกายร้อนอบอ้าวเกินไป ก็จะส่งผลให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นผิดปกติ และร่างกายจะระบายความร้อนส่วนเกินดงกล่าวออกมาทางรูขุมขน เำพื่อให้อุณหภูมิของร่างกายลดลงจนอนู่ในสภาวะปกติ
     3.รับความรู้สึกจากสิ่งเร้าต่างๆ ผิวหนังจะส่งผ่านความรู้สึกที่ได้รับเช่น ความร้อน ความเย็น ความเจ็บปวด เป็นต้น ไปยังเส้นประสาทใต้ผิวหนัง เพื่อรายงานไปยังสมองหรือเส้นประสาทอัตโนมัติ จากนั้นสมองก็จะสั่งการเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าเหล่านั้น
     4.ขับน้ำ เกลือแร่ต่างๆ และสารอินทรีย์หลายชนิดออกจากร่างกาย เพื่อให้ร่างกายดำรงสภาพสมดุล และสามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ
     5.สังเคราะห์วิตามินดี ผิวหนังะทำหน้าที่ดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดดเพื่อนามาใช้เปลี่ยนสารเคมีให้เป็นวิตามินดี ซึ่งเป็นวิตามินที่มีความจำเป็นต่อรางกายในการนำแคลเซียมมาใช้ประโยชน์ และช่วยในการสร้างความแข็งแรงของกระดูกให้มากขึ้น
     6.ช่วยขับไขมันออกมาตามรูขุมขน เพื่อหล่อเลี้ยงเส้นผมหรือเส้นขนให้เงางาม
     7.ช่วยแสดงอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นจากสาเหตุภายในร่างกายให้ทราบ เช่น หน้าแดง เมื่อเป็นลมแดด หรือเมื่อมีอาการของผื่นแพ้ต่างๆ เกิดขึ้น เป็นต้น

โครงสร้างของผิวหนัง

     ระบบผิวหนัง หรือระบบห่อหุ้มร่างกาย เปฌนระบบอวัยวะที่ประกอบด้วยผิวหนัง (Skin) และอนุพันธ์ของผิวหนัง โดยที่ผิวหนังเป็นอวัยวะที่มีขนาดมากที่สุดในร่างกาย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2 ตารางเมตร ผิวหนังส่วนใหญ่ของร่างกายมีความหนาประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ซึ่งประกอบด้วย

หนังกำพร้า (Epidermis) ผิวหนังชั้นนี้จะมีการ
หลุดลอกเป็ยขี้ไคล แล้วมีการสร้างใหม่ขึ้นมา
ทดแทนเรื่อยๆ ซึ่งผิวหนังของแต่ละคน จะมีสี
ที่แตกต่างกันโดยที่ปัจจัยหนึ่งนั้นขึ้นอยู่กับเซลล์
เม็ดสีที่เรียกกันว่าเมลานิน ซึ่งอยู่ในชั้นผิวหนังส่วนนี้

หนังแท้ (Dermis)  ผิวหนังชั้นนี้จะอยู่ภายใต้ชั้นของหนังกำพร้า
และมีควาใหนามากกว่าชั้นของหนังกำพร้ามาก โดยจะมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
ที่มีลักษณะเหนียวคอยยึดส่วนประกอบต่างๆ ของผิวหนังไว้เช่น หลอดเลือด
ฟอย เส้นประสาทรับความรู้สึกต่างๆ รากขนหรือรากผม ต่อมเหงือ ต่อมไขมัน 
เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วพบว่าบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า จะเป็นบริเวณที่ผิวหนัง
หนาแน่นมากกว่าส่วนอื่นๆ ของร่างกาย


ต่อมไขมัน (Sebaceous gland) ทำหน้าที่สร้างไขมัน 
ช่วยทำให้เส้นผมเส้นขน เป็นมันเงางาม ผิวหนังชุ่มชื้น
ไม่แตกกระด้าง ป้องกันการระเหยของน้ำ ออกจากร่างกาย

ต่อมหงือ (Sweat gland) ทำหน้าที่สร้างเหงื่อที่ประกอบ
ไปด้วยน้ำและเกลือแร่เพื่อช่วยระบายความร้อนในร่างกาย
ให้สมดุล

วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555

ระบบผิวหนัง

     ระบบผิวหนังหรือระบบห่อหุ้มร่างกาย ประกอบด้วย ผิวหนัง เล็บ และขน ซึ่งอวัยวะที่ทำหน้าที่ปกคลุมและป้องกันร่างกาย โดยผิวหนังเป็นอวัยวะที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ซึ่งเมื่อนำมาต่อกันจะมีพื้นที่ประมาณ 2 ตารางเมตร และมีความหนาต่างกันขึ้นอยู่กับตำแหน่งและลักษณะการใช้งาน บริเวณที่ใช้งานมากจะมีความหนามาก ส่วนบริเวณที่ใช้งานน้อยจะบางและไวต่อความรู้สึก

ระบบอวัยวะของร่างกาย

     ร่างกายของเราประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ มาทำงานประสานกันเป็นระบบ ถ้าอวัยวะหนึ่งอวัยวะใดทำงานผิดปกติไปจะมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของเรา นอกจากการทำงานที่ประสานกะนภายในระบบนั้นๆ แล้ว ระบบต่างๆของร่างกายไม่ว่าจะเป็นระบบประสาท ระบบกระดูก ระบบกล้ามเนื้อ ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบหายใจ ระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย ระบบภูมิคุ้มกัน และระบบสืบพันธุ์ แต่ละระบบยังทำงานประสานกันเพื่อให้สิ่งมีชีวิตนั้นๆดำรงอยู่ได้

     แต่ละระบบจะประกอบด้วยอวัยวะต่างกันและมีหน้าที่แตกต่างกันไป ซึ่งในหน่วยการเรียนนี้จะกล่าวถึง 3 ระบบคือ ระบบกระดูก และระบบกล้ามเนื้อ

โครงสร้างของร่างกาย

     ร่างกายมนุษย์ประกอบขึ้นจากส่วนที่เล็กที่สุดคือ "อะตอม" ซึ่งยึดเข้ากันด้วยพันธะต่างๆ กลายเป็นโมเลกุล และแต่ละโมเลกุลก็จะมีการจัดรวมตัวกันเป็นโครงสร้างของเซลล์ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่เล็กที่สุด เป็นตัวกำหนดการมีชีวิตของมนุษย์ โดยเซลล์เหล่านี้จะมีทั้งที่ทำหน้าที่เหมือนกัน และแตกต่างกันออกไป แต่เซลล์ของร่างกายส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่อย่างอิสระ หากเป็นเซลล์ที่มีโครงสร้าง หน้าที่
และต้นกำเนิดคล้ายคลึงกัน จะยึดติดกันเป็นกลุ่มเซลล์ โดยกลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่เหมือนกันหรือทำหน้าที่อย่างเดียวกัน เราจะรวมเรียกว่า "เนื้อเยื่อ" ซึ่งมี 4 ชนิดคือ
1.เนื้อเยื่อบุผิว เป็นเนื้อเยื่อที่บุผิวด้านนอก
ของร่างกายหรือบุผิวของอวัยวะต่างๆ มีหน้าที่
ป้องกันอวัยวะต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมภายนอก

2.เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ประกอบด้วยเซลล์หลายชนิด
เรียงตัวกันอย่างหลวมๆ แต่มีเส้นใยมาประสารกัน
ทำให้เกิดความแข็งแรง

3.เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
ของร่างกานและอวัยวะต่างๆ ซึ่งเกิดจากการหกตัว
และคลายตัวของกล้ามเนื้อ

4.เนื้อเยื่อประสาท ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับความรู้สึก
การตอบสนองต่อสิ่งเร้า และควบคุมการทำงาน
ของอวัยวะต่างๆ

     หากเนื้อเยื่อหลายๆ เนื้อเยื่อที่ทำงานหรือทำหน้าที่อย่างเดียวกัน เราจะเรียกกลุ่มของเนื้อเยื่อนั้นว่า "อวัยวะ" เช่น ปอด หัวใจ สมอง ตับ ม้าม เป็นต้น และอวัยวะหลายๆ อวัยวะ ที่ร่วมทำหน้าที่อย่างเดียวกัน ก็จะเรียกว่า "ระบบอวัยวะ" เช่นระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ระบบหายใจ ระบบสืบพันธ์ เป็นต้น โดยระบบก็จะมีหน้าที่ของตัวเองและทำงานประสานสัมพันธ์กัน ซึ่งรวมเรียกว่า "ร่างกาย"
     การทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายของคนเรานั้น จะต้องมีการประสานสัมพันธ์กันอยู่เสมอ ถ้าหากไม่ทำงานประสานสัมพันธ์กันก็จะก่อให้เกิดปัญหาในการดำรงชีวิต ซึ่งระบบหายใจและระบบไหลเวียนโลหิตประกอบด้วยอวัยวะที่สำคัญ คือ ปอดและหัวใจ โดยที่หัวใจมีหน้าที่สูบฉีดเลือดที่ผ่านการฟอกจนได้เลือดที่สะอาด (มีปริมาณออกซิเจนที่เพียงพอ) จากปอด เพื่อนำไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย แต่หากต่อมาปอดเกิดทำงานได้ไม่ดี ไม่สามารถที่จะฟอกเลือดให้สะอาดเพียงพอต่อความต้้องการของร่างกายได้ หัวใจก็จะต้องทำงานหนักขึ้น โดยต้องสูบฉีดเลือดให้ถี่ขึ้นเพื่อที่จะให้ได้ปริมาณของเลือดที่เพียงพอต่อการนำไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ในระยะเวลานานๆ ก็จะส่งผมกระทบต่อสุขภาพของร่างกาย ก่อให้เกิดการเจ๊บป่วย หรืออาจจะถึงแก่ความตายในที่สุด

องค์ประกอบของร่างกายมนุษย์

     มนุษย์มีโครงสร้างการทำงานของร่างกายที่ซับซ้อน โดยเริ่มจากระดับโมเลกุล ระดับเซลล์ ระดับเนื้อเยื่อ และระดับอวัยวะ โดยโครงสร้างทุกระดับนี้เรียกรวมกันว่า "ระบบอวัยวะ" ซึ่งประกอบด้วยหน่วยย่อยหลายอย่าง